บริษัท มาร์เก็ตอินโฟ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้ขึ้นทะเบียนพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยได้จดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ทะเบียนเลขที่ 7100803000600 ชนิดแห่งพาณิชยกิจ – ขายข้อมูล งานวิจัยทางธุรกิจ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เราเป็นผู้ให้บริการข้อมูลด้านการตลาด (Marketing) จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ด้านข้อมูลการตลาดมากว่า 10 ปี ข้อมูลแต่ละชุดมีตั้งแต่ 5 หน้าขึ้นไป มีจำนวนเรื่องให้เลือกกว่า 500 เรื่อง
รายชื่อข้อมูลอัพเดทใหม่ | |||||
---|---|---|---|---|---|
No. | ข้อมูลการตลาด | รายละเอียด | จำนวนหน้า | Updated | ราคา |
1. | ฟิตเนส | รายละเอียด | 34 | 09 ตุลาคม 2567 | 450 |
2. | แลคตาซอย | รายละเอียด | 12 | 30 สิงหาคม 2567 | 450 |
3. | ยีนส์ | รายละเอียด | 18 | 24 สิงหาคม 2567 | 300 |
4. | สินค้าและอุปกรณ์กีฬาไนกี้ | รายละเอียด | 7 | 19 สิงหาคม 2567 | 150 |
5. | ธุรกิจฟู้ดทรัค | รายละเอียด | 16 | 07 สิงหาคม 2567 | 300 |
6. | บีเอ็มดับเบิลยู | รายละเอียด | 8 | 27 กรกฎาคม 2567 | 350 |
7. | สถานีบริการน้ำมัน (ตลาดรวม) | รายละเอียด | 18 | 24 กรกฎาคม 2567 | 300 |
8. | ปลากระป๋อง (ปลาซาร์ดีน-ปลาทูน่า) | รายละเอียด | 22 | 17 กรกฎาคม 2567 | 450 |
9. | นกแอร์ | รายละเอียด | 14 | 08 กรกฎาคม 2567 | 250 |
10. | โอชายะ Ochaya | รายละเอียด | 6 | 05 กรกฎาคม 2567 | 150 |
11. | น้ำดำหรือโคล่า | รายละเอียด | 11 | 03 กรกฎาคม 2567 | 400 |
12. | ไมโล | รายละเอียด | 10 | 29 มิถุนายน 2567 | 350 |
13. | เครื่องดื่มรสมอลต์ | รายละเอียด | 15 | 29 มิถุนายน 2567 | 450 |
14. | ร้านหม้อไฟหม่าล่า | รายละเอียด | 17 | 28 มิถุนายน 2567 | 300 |
15. | ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายนีเวีย | รายละเอียด | 11 | 25 มิถุนายน 2567 | 500 |
กลยุทธ์การตลาด-แผนธุรกิจ / Marketing Information & Strategy ข้อมูลด้านการตลาด (Marketing) จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ด้านข้อมูลการตลาด มากว่า 10 ปี กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) คือ กลวิธีหรือแบบแผนเพื่อช่วยให้สินค้าและบริการเป็นที่น่าสนใจในสายตาของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและตอบสนองการใช้งานของลูกค้า
คือแผนปฏิบัติการของกลยุทธ์การตลาดในช่วงเวลาข้างหน้า (1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี) แผนการตลาดรวมถึง ภาพรวมเป้าหมายการตลาดและโฆษณา รายละเอียดและระยะเวลาของแผนการตลาด และตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) เป้าหมายของแผนการตลาดคือการสร้างทิศทางที่ชัดเจนให้กับธุรกิจ
แผนการตลาดที่ดีต้องสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งก็หมายความว่าเราควรจะลงรายละเอียดวิธีการปฏิบัติ และทำการประเมินระยะเวลาที่จะเห็นผลด้วย ยกตัวอย่างเช่นแผนการตลาด Instagram ของคุณอาจจะรวมถึงการโพสต์รูปทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือนเพื่อเพิ่มจำนวนคนติดตาม
พบกับเนื้อหาของการวางกลยุทธ์การตลาด ผ่านเครื่องมือ Marketing Mix 4Ps ของแบรนด์ชั้นนำในตลาด พร้อมด้วยเนื้อหาของสภาพแวดล้อมทางการตลาดพร้อมกับการมองทิศทางของโอกาสและอุปสรรค รวมตัวเลขของขนาดตลาด (Market size) ส่วนแบ่งตลาด (Market share) ส่วนประสมทางการตลาด / กลยุทธ์ทางการตลาด ( Market Mixed / 4p's ) และแนวโน้ม ( Trend )
กลยุทธ์การตลาด-แผนธุรกิจ / Marketing Information & Strategy ,พบกับข้อมูลการตลาด (Marketing) แผนธุรกิจ การวางกลยุทธ์การตลาด (Market Mixed / 4p's) การแข่งขัน (Market Analysis) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ KEY SUCCESS FACTOR (KSF) โอกาส-อุปสรรค วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (PEST) มูลค่าตลาด (Market Size) ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ข้อมูลชุดนี้อยู่ในรูปแบบไฟล์ MS Word มีจำนวน 9 หน้า อัพเดทล่าสุด 30/12/2564 ราคา 350 บาท จัดส่งผ่านอีเมลล์ภายใน 60 นาที สนใจรายละเอียด/สั่งซื้อ คลิ๊ก https://www.mktinfoonline.com/index.php/order-now/
ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ LINE ID : @marketinfo หรือคลิ๊กลิงก์ http://line.me/ti/p/@marketinfo
#EBOOK #แผนธุรกิจ #คู่แข่งขัน #วิจัย #กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย #อีบุ๊กธุรกิจการตลาด #อีบุ๊คธุรกิจการตลาด #วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก #PEST #โอกาสอุปสรรค #5forces #KeySuccessFactors #KSF #ปัจจัยแห่งความสำเร็จ #บริษัทมาร์เก็ตอินโฟแอนด์คอมมูนิเคชั่นจำกัด
กลยุทธ์การตลาด Marketinfo
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เปิดงานวิจัย "หนีห่าว มาร์เก็ตติ้ง" เคล็ดลับมัดใจนักท่องเที่ยวจีนสไตล์ FIT เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมเดินทางเป็นกลุ่มด้วยตัวเอง หรือเรียกสั้นๆ ว่า FIT (Free and Independent Traveler) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงอย่างต่อเนื่อง พบเฉลี่ยใช้เวลาในการมาท่องเที่ยวเมืองไทยต่อทริป ประมาณ 5-7วัน มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่คนละ 25,000 – 50,000 บาทต่อทริป โดยจากการวิเคราะห์สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้จ่าย ออกเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ 1. ชิล 2.ช็อป และ 3.ชิม พร้อมแนะกุญแจสู่ความสำเร็จมัดใจนักท่องเที่ยวจีนภายใต้คอนเซ็ปต์ "T-H-A-I" ดังนี้ T : Trust รักษามาตรฐานสินค้าและบริการของไทยให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจ ส่งผลให้เกิดการซื้อซ้ำและบอกต่อ H: Hospitality ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความจริงใจ ให้บริการด้วยอัธยาศัยแบบไทย สร้างความไว้วางใจและรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง A: Awarenessสร้างการรับรู้ กระตุ้นจุดสนใจ ดึงดูดด้วยภาษาจีน สื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ และ I: Identity สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจนมีความโดดเด่นและแตกต่าง สร้างแบรนด์ให้มีคุณค่าเพื่อให้นักท่องเที่ยวจีนระลึกถึง ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการมหิดล ได้จัดสัมมนาการตลาด "หนีห่าว มาร์เก็ตติ้ง" เคล็ดลับฉบับมัดใจนักท่องเที่ยวจีน (FIT)เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้อง 603 ชั้น 6 อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ นักการตลาด และบุคคลทั่วไป ที่สนใจในการทำธุรกิจและต้องการเจาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่วิทยาลัยการจัดการมหิดล
จากการคาดการณ์แนวโน้มทิศทางภาคการท่องเที่ยวไทยปี 2560 ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ระบุว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เติบโตทั้งในเชิงจำนวนและรายได้อย่างชัดเจน โดยคาดการณ์ของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) มองว่า ทิศทางภาคการท่องเที่ยวไทยปี 2560 จะเห็นการเติบโตของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในเชิงจำนวนและรายได้อย่างชัดเจน ว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย ราว 33.73-34.39 ล้านคน เติบโต 3.75-5.78% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้สูงถึง 1.82-1.85 ล้านล้านบาท ทั้งนี้หากย้อนดูสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2559 พบว่า 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด จำนวน 8,221,526 คน เป็นนักท่องเที่ยวจีน และเป็นกลุ่มที่ท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากถึง 60% ซึ่งในภาพรวมสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย 445,000 ล้านบาท ขณะที่รายงาน "อนาคตของนักท่องเที่ยวจีน" ของอินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป ประเมินว่า รายได้ของไทยจากนักท่องเที่ยวจีนจะเพิ่มสูงขึ้นราว 829,500 ล้านบาทในปี 2566
ด้วยความน่าสนใจของตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่มีกำลังซื้อมหาศาล สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ส่งเสริมให้นักศึกษาปริญญาโท ทำการศึกษา ค้นคว้า และมองเห็นโอกาสทางการตลาดที่ผู้ประกอบการไทย สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่มีศักยภาพ ซึ่งในภาพรวมนอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วย โดยล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีนโยบายทำการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนที่มีศักยภาพสูงเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการ แต่เนื่องจากในปัจจุบันตลาดสินค้าและบริการสำหรับนักท่องเที่ยวจีนนั้น เริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมายังประเทศไทย ดังนั้น การสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้โดนใจนักท่องเที่ยวแดนมังกร จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นและหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
จากการค้นคว้าข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน พบว่าปัจจุบันเทรนด์นักท่องเที่ยวจากจีนที่หลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ นิยมเดินทางเป็นกลุ่มด้วยตัวเอง หรือเรียกสั้นๆ ว่า FIT (Free and Independent Traveler) ที่น่าสนใจคือนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีกำลังซื้อสูง และในปี 2560 มีแนวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ธุรกิจของไทยที่มีฐานลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนมีโอกาสเติบโตอีกมาก ทีมวิจัยจึงทำการศึกษาวิจัยทั้งเชิงปริมาณโดยการสอบถาม นักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่ม FIT จำนวน 403 คน และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกอีก 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 18-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีขึนไป ในหลากหลายอาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 3,000 – 12,000 หยวน หรือ 15,000 – 60,000 บาท พบว่า เหตุผลที่นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่นิยมเดินทางมาท่องแบบอิสระ เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายและบรรยากาศดึงดูดให้มาท่องเที่ยว ที่สำคัญการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย อาหารไทยอร่อย ถูก และดี และคนไทยอัธยาศัยดี มีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการมาท่องเที่ยวเมืองไทยต่อทริป เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-7 วัน มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 25,000 – 50,000 บาทต่อทริป
โดยรูปแบบการจ่ายเงินชาวจีนชอบจ่ายค่าสินค้าและบริการ ผ่านธนาคารอินเตอร์เน็ตที่คนจีนนิยม คือ Alipay รองลงมาคือWeChat pay และใช้เงินสด ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราห์รายละเอียดเชิงลึกสามารถแบ่งสัดส่วนการใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่
หมวดที่ 1: ชิล คือ การใช้จ่ายในหมวดที่พักและกิจกรรมผ่อนคลาย ในหมวดนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของการท่องเที่ยว โดยในปัจจุบันที่พักที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระ ไม่ได้จำกัดแค่การพักในโรงแรมเท่านั้นเพราะยังมีช่องทางในการจองที่พักมากมาย ไม่ว่าจะจากเว็ป Travel agency ต่างๆ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ช่วยในตัดสินใจเลือกที่พักนั้น ส่วนใหญ่ดูจากการรีวิวและคอมเมนต์ของลูกค้าก่อนหน้าที่เคยใช้บริการ ซึ่งนอกจากราคาไม่แพงมาก ทำเลที่ตั้งต้องเดินทางสะดวก และการบริการของพนักงานแล้ว ยังดูถึงรสชาติของอาหารด้วย และที่ถือเป็นตัวช่วยที่หลายคนคาดไม่ถึงก็คือการมีสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ ประจำที่พัก ซึ่งทำให้เกิดการบอกต่อและอยากมาถ่ายรูปเพื่ออัพลงโซเชียลมีเดีย ส่วนกิจกรรมผ่อนคลายที่นักท่องเที่ยวจีนชื่นชอบมากที่สุด คือการนวดผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการท่องเที่ยว โดยนอกจากในกรุงเทพฯ แล้ว ตามหัวเมืองท่องเที่ยวเช่น เชียงใหม่ และภูเก็ต ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
หมวดที่ 2: ช็อป คือ การใช้จ่ายในการซื้อสินค้าไทย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักซื้อไปใช้เอง โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ 1.อาหารไทย 2.ขนมกินเล่น และ 3.เครื่องสำอาง รองลงมาเป็นของฝากและซื้อไปขายต่อตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่นักท่องเที่ยวจีนพิจารณาก่อนควักเงินซื้อ คือคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่น ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย รวมไปถึงการมีคำอธิบายคุณสมบัติและแหล่งที่มาเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ที่สำคัญบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถมองเห็นสินค้าภายในได้อย่างชัดเจน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการตลาดโดยนอกจากมีตัวอย่างให้ทดลอง การสื่อสารด้วยข้อความลดราคา แบบ50% จะสามารถจูงใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้มากกว่าการสื่อสารแบบซื้อ 1 แถม 1 การจัดโปรโมชั่นแบบซื้อครบยอดที่กำหนดแล้วได้ส่วนลดหรือได้ของแถมเพิ่ม และอีกเทคนิคมัดใจที่ช่วยเพิ่มโอกาสการในการขายได้มากขึ้น คือการที่พนักงานขายสามารถสื่อสารให้ข้อมูลเป็นภาษาจีน และเลือกพรีเซนเตอร์ดาราไทยที่คนจีนชื่นชอบ